วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีลอยกระทง

                                                   เทศกาลวันลอยกระทง
 





       เทศกาลลอยกระทงหรือสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติแม้แต่เทศกาลอื่นก็ตาม ประวัติความเป็นมา วีธีปฏิบัติ ทั้งหลายนั้นมันมีความหมายที่ลึกซึ้งในตัวของมันเอง ประเพณีลอยกระทงเขาสอนให้เรารู้จักการกตัญญูกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือแม้แต่ บางสิ่งบางอย่างที่ทำให้เราได้รับประโยชน์ในการดำเนินชีวิต  แล้วยังทำให้เรารู้จักแบ่งปันให้คนอื่นซึ่งมันสามารถทำให้เรากลายเป็นคนที่ ไม่ตระหนี่ ยังเป็นคนโอบอ้อมอารี เป็นต้น เห็นไหมว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเป็นบทเรียนหรือการสั่งสอนแบบธรรมชาติที่มี มาเอง เพียงแต่ว่าเราสามารถจะรับรู้ถึงคุณค่าหรือประโยชน์ของประเพณีมากน้อยแค่ ไหน  ดังนั้นจงรักษ์ษาประเพณีลอยกระทงเอาไว้และควรทำตัวให้มีส่วนร่วมเพื่อสืบสาน วัฒนธรรมของไทยเราไปตลอดนานเท่านาน

ประวัติการลอยกระทงในประเทศไทย
        
       การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา 



                                                         วันลอยกระทง



ลอยกระทงเป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน ๑๒ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆกัน สำหรับในปี
 
                               ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้ 

 
 

1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

                                          ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว



 
        ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลายตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ พระสนมเอกก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบันจึงทำให้เราเข้าใจในหลายๆสิ่งหลายๆอย่างมากขึ้น  ในบางครั้งการมีส่วนร่วมตามประเพณีต่างๆทำให้เราได้พักผ่อนหรือคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี  ฉะนั้นเราควรให้ความสำคัญกับประเพณีของเราให้มากขึ้น